Posted by siriluk tai | Posted in Uncategorized | Posted on 02-02-2013
การคัดเลือกพันธุ์
การคัดเลือกเป็นขบวนการที่สัตว์ตัวใดตัวหนึ่งในฝูงมีโอกาสที่จะถูกคัดเลือกไว้เพื่อให้สืบพันธุ์ไปยังชั่วอายุต่อไป การคัดเลือกพันธุ์เป็นวิธีการอย่างหนึ่งในการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ โดยใช้ร่วมกับแผนการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้สัตว์รุ่นต่อ ๆ ไปมีลักษณะที่ดีตามความต้องการมากยิ่งขึ้น ถ้าหากเราทำการคัดเลือกพันธุ์สัตว์ได้อย่างถูกต้องแม่นยำแล้วเราก็จะได้สัตว์เลี้ยงที่ให้ผลตอบแทนสูงในที่สุด

การคัดเลือกแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
1 การคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและในด้านวิวัฒนาการ สัตว์ที่แข็งแรงจะมีโอกาสในการถ่ายทอดพันธุกรรมได้มากกว่าพวกที่อ่อนแอ
การคัดเลือกพันธุ์โดยมนุษย์ (artificial selection) เป็นการคัดเลือกโดยมนุษย์เพื่อให้ได้ลักษณะต่าง ๆ ตามความต้องการของมนุษย์ โดยใช้เครื่องไม้เครื่องมือ และวิทยาการ สมัยใหม่เข้าช่วย การคัดเลือกโดยมนุษย์มักจะได้สัตว์ที่มีคุณภาพดี ให้ผลิตผลสูงและได้ผลรวดเร็วในการคัดเลือก

2. หลักในการคัดเลือกพันธุ์สัตว์ การคัดเลือกพันธุ์สัตว์มีหลักในการยึดถือให้ปฏิบัติหลายประการ ผู้เลี้ยงสัตว์จะยึด หลักการข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้งหมดก็ได้ ซึ่งหลักการคัดเลือกพันธุ์สัตว์มีหลักการดัง
2.1 การคัดเลือกจากความสามารถของตัวมันเอง (individual selection) หรือการคัดเลือกความสามารถของสัตว์ทั้งฝูง (mass selection) การคัดเลือกแบบนี้พิจารณาจากลักษณะที่ปรากฏภายนอกของสัตว์ เช่น การให้ผลผลิต ปริมาณน้ำนม การให้ไข่ ฯลฯ การคัดเลือกโดยวิธีนี้ต้องพยายามควบคุมอิทธิพลที่เกิดจากสภาพแวดล้อมให้คงที่ วิธีการก็คือคัดเลือกจากสัตว์ที่เลี้ยงดูในสภาพที่ใกล้เคียงกันให้มากที่สุด การคัดเลือกจากความสามารถของตัวมันเองจะเกิดผลดีเมื่อ
2.1.1 ลักษณะที่คัดเลือกนั้นมีอัตราพันธุกรรมสูง
2.1.2 ลักษณะที่คัดเลือกนั้นต้องปรากฏออกมาในขณะที่สัตว์มีชีวิต
2.2 การคัดเลือกจากบันทึกประวัติ (pedigree selection) เป็นการคัดเลือกโดยอาศัยพิจารณาจากพันธุ์ประวัติหรือบันทึกพันธุ์ประวัติของตนเองและของบรรพบุรุษ ดังนั้นในการคัดเลือกจึงต้องมีบันทึกพันธุ์ประวัติสมบูรณ์และจะดูพันธุ์ประวัติของบรรพบุรุษย้อนหลัง 2 ชั่วอายุ คือ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย


http://www.thaigoodview.com
Posted by siriluk tai | Posted in Uncategorized | Posted on 02-02-2013
ยีน
ยีนเป็นสารพันธุกรรมที่อยู่บนโครโมโซม ที่เรียงกันคล้ายๆกับสร้อยลูกปัด ซึ่งยีนจะมีหน้าที่สำคัญอย่างไรนั้นเราต้องมาทำความรู้จักกันเลยดีกว่าค่ะ

ทำหน้าที่่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปยังลูกหลาน ยีนแต่ละยีนจะควบคุมลักษณะต่างๆทางพันธุกรรมเพียงลักษณะเดียว ยีนที่ควบคุมลักษณะใดลักษณะหนึ่งนั้นจะอยู่กันเป็นคู่ ยีนสามารถเป็นได้ทั้งดีเอ็นเอหรือ อาร์เอ็นเอ เมื่อมีการถ่ายทอดลักษณะต่างๆ มายังรุ่นลูก ยีนแต่ละคู่ของลูกนั้นจะได้รับมาจากพ่อ ครึ่งหนึ่งและได้รับจากแม่อีกครึ่งหนึ่ง ทำให้ลูกที่เกิดมานั้นมีความแตกต่างกันภายในครอบครัว ยีนมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ ยีนเด่น ยีนด้อย เป็นต้น

http://www.thaigoodview.com
Posted by siriluk tai | Posted in Uncategorized | Posted on 02-02-2013
โครโมโซม
โครโมโซมเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของสารพันธุกรรม ซึ่งถ้าโครโมตัวใดตัวหนึ่งขาดหรือหายไปอาจจะทำให้ร่างกายของมนุาย์ผิดปกติตามไปด้วย

โครโมโซมคือสารพันธุกรรมในร่างกายของมนุษย์ เป็นตัวกำหนดลักษณะต่างๆเช่น สีตา สีผม ความสูง และควบคุม การทำงาน ของร่างกาย โครโมโซมจะอยู่ในเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย ในคนปกติทั่วไป แต่ละเซลล์จะมีจำนวนโครโมโซม อยู่ทั้ง หมด 23 คู่ หรือ 46 แท่ง โดยครึ่งหนึ่งคือ 23 แท่งเราจะได้รับมาจากพ่อและอีก 23 แท่งจะได้มาจากแม่ และเราสามารถ ถ่ายทอดโครโมโซมครึ่งหนึ่งไปให้ลูกของเราได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ เราจึงมีลักษณะเหมือนพ่อและแม่ ส่วนลูกของเรา ก็จะ มีลักษณะเหมือนเราและคู่ครองของเรานั่นเอง
ดังที่กล่าวมาแล้ว คนปกติจะมีโครโมโซมอยู่ 46 แท่งในเซลล์ทุกเซลล์ จึงจะทำให้ร่างกายทำหน้าที่ได้ปกติ หากมีการเกินมาหรือขาดหายไปของโครโมโซมหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของโครโมโซม จะมีผลให้ร่างกายเกิดความผิดปกติ และเกิดความพิการได้ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีที่มีโครโมโซมที่ 21 เกินมาหนึ่งแท่ง จะทำให้เกิดกลุ่มอาการผิด ปกติ ที่เรียกว่ากลุ่มอาการดาวน์ (Down Syndrome) ซึ่งผู้ที่มีลักษณะเช่นนี้จะมีพัฒนาการช้า และอาจมีความผิดปกติของ อวัยวะ อื่นๆร่วมด้วยเช่น หัวใจผิดปกติเป็นต้น


http://medinfo2.psu.ac.th/pathology/Education/Ge/Chromos.html
Posted by siriluk tai | Posted in Uncategorized | Posted on 02-02-2013
DNA
หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า ดีเอ็นเอ อยู่บ่อยๆซึ่งเป็นศัพทืทางการแพทย์และทางวิทยาศาสตร์ซึ่ง ดีเอ็นเอ จะหมายความว่าอย่างไรมีความสำคัญอย่างไรนั้นเรามารู้จักกับ ดีเอ็นเอ กันดีกว่าค่ะ

ดีเอ็นเอ (DNA)คือ ชื่อย่อของสารพันธุกรรม มีชื่อแบบเต็มว่า กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (Deoxyribonucleic acid) ซึ่งเป็นจำพวกกรดนิวคลีอิก(Nucleic acid) (กรดที่สามารถพบได้ในส่วนของใจกลางของเซลล์) ซึ่ง ดีเอ็นเอ (DNA) มักพบอยู่ในส่วนของนิวเคลียสของเซลล์ โดยพันตัวอยู่บนโครโมโซม ดีเอ็นเอ (DNA)มักพบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้แก่ คน (Human), สัตว์ (Animal), พืช (Plant), เห็ดและรา (Fungi), แบคทีเรีย (Bacteria), ไวรัส (Virus) (ไวรัสอาจจะไม่ถูกเรียกว่าสิ่งมีชีวิตเพราะองค์ประกอบบางอย่างไม่ครบ) เป็นต้น ดีเอ็นเอ (DNA) ทำการเก็บข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งๆเอาไว้ ซึ่งมีลักษณะที่มีการผสมผสานมาจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อน ซึ่งก็คือ รุ่นพ่อและแม่ (Parent) ทั้งยังสามารถถ่ายทอดลักษณะไปยังสิ่งมีชีวิตรุ่นถัดไป ซึ่งก็คือรุ่นลูก หรือ รุ่นหลาน (Offspring)

ผู้ค้นพบดีเอ็นเอ(DNA) คือ ฟรีดริช มีเชอร์ (Johann Friedrich Miecher) ในปี พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) แต่ยังไม่ทราบว่ามีโครงสร้างอย่างไร จนในปี พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) เจมส์ ดี. วัตสัน และฟรานซิส คริก (James D. Watson and Francis Crick)เป็นผู้รวบรวมข้อมูล และสร้างแบบจำลองโครงสร้าง DNA (DNA Structure Model)จนทำให้ได้รับรางวัลโนเบล(Nobel Prize in Physiology or Medicine in 1962) และนับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ (DNA Technology)


http://www.thaibiotech.info/what-is-dna.php
Posted by siriluk tai | Posted in Uncategorized | Posted on 02-02-2013
การแพร่
ในชีวิตประจำวันของเรามีวิทยาศาสตร์เข้าเกี่ยวข้องกับเราตั้งมากมายโดยเฉพาะในเรื่องของการแพร่ เช่น การแพร่ของน้ำหอม ทั้งสารเคมีต่างๆ

การแพร่แบบธรรมดาสารจะแพร่จากบริเวณที่สารมีความหนาแน่นมากไปยังบริเวณที่มีสารความหนาแน่นน้อย จนความหนาแน่นของสารในทุกบริเวณเท่ากัน สภาวะเช่นนี้ เรียกว่าสมดุลของการแพร่ (dynamic equilibrium) ซึ่งอัตราการแพร่ไปและกลับจะเท่ากัน
สารที่มีขนาดเล็กและละลายในไขมันได้ดีและไม่มีขั้ว จะเข้าสู่เซลล์โดยกระบวนการแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ดี และมีอัตราการแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้สูง เช่น ไนโตรเจน ออกซิเจน
อนุภาคของสารบางชนิดแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์โดยตรงไม่ได้ จะใช้การแพร่ผ่านรูหรือช่องของโปรตีนที่เยื่อหุ้มเซลล์ ไอออนขนาดเล็ก เช่น โพแทสเซียมไออน โซเดียมไออนหรือคลอไรด์ไออน จะแพร่ผ่านช่องโปรตีนได้


http://www.thaigoodview.com
Posted by siriluk tai | Posted in Uncategorized | Posted on 02-02-2013
นิวเคลียส

เป็นโครงสร้างที่มักพบอยู่กลางเซลล์ เมื่อย้อมสี จะติดสีเข้มทึบ สังเกตได้ชัดเจนปกติเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ทั่วไปจะมีนิวเคลียสเพียง 1 นิวเคลียส
เยื่อหุ้มนิวเคลียส (nuclear envelop , nuclear membrane)เป็นเยื่อบาง ๆ 2 ชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยลิพิดเรียงตัว 2 ชั้น มีโปรตีนแทรกเป็นระยะๆ มีช่องเล็กๆ ทะลุผ่านเยื่อหุ้ม นิวคลีโอพลาซึม คือ ส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ใน เยื่อหุ้มนิวเคลียส เซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส เรียกว่า เซลล์ยูคาริโอต (eukaryotic cell) ได้แก่ เซลล์ของพืช สัตว์ โพรทิสต์ เซลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสเรียกว่า เซลล์โพรคาริโอต (prokaryotic cell) ได้แก่ แบคทีเรีย สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน


http://www.thaigoodview.com
Posted by siriluk tai | Posted in Uncategorized | Posted on 02-02-2013
เซลล์
เซลล์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เล้กที่สุดเลยก็ว่าได้ แต่จะเล้กมากแค่ไหนนั้นให้เรามาทำความรู้จักมาพร้อมๆกันนะค่ะ

เซลล์โดยทั่วไปถึงแม้จะมีขนาด รูปร่าง และหน้าที่แตกต่างกัน แต่ลักษณะพื้นฐานภายในเซลล์มักไม่แตกต่างกัน นักชีววิทยาได้ใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนศึกษาเซลล์ของสิ่งมีชีวิตพบว่า ในไซโทพลาซึมมีโครงสร้างขนาดเล็กที่ทำหน้าที่เฉพาะเรียกว่า ออร์แกเนลล์ (organelle) มีหลายขนาด รูปร่าง จำนวน และหน้าที่ต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์ซึ่งจะประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้


http://school.obec.go.th/saneh/cell/cell/main1.htm