Warning: Declaration of Walker_Comment2::start_lvl(&$output, $depth, $args) should be compatible with Walker::start_lvl(&$output, $depth = 0, $args = Array) in /home/vhosts/bestoftheuniverse.6te.net/wp-content/themes/nature_wdl/functions.php on line 136

Warning: Declaration of Walker_Comment2::end_lvl(&$output, $depth, $args) should be compatible with Walker::end_lvl(&$output, $depth = 0, $args = Array) in /home/vhosts/bestoftheuniverse.6te.net/wp-content/themes/nature_wdl/functions.php on line 136

Warning: Declaration of Walker_Comment2::start_el(&$output, $comment, $depth, $args) should be compatible with Walker::start_el(&$output, $object, $depth, $args, $current_object_id = 0) in /home/vhosts/bestoftheuniverse.6te.net/wp-content/themes/nature_wdl/functions.php on line 136

Warning: Declaration of Walker_Comment2::end_el(&$output, $comment, $depth, $args) should be compatible with Walker::end_el(&$output, $object, $depth = 0, $args = Array) in /home/vhosts/bestoftheuniverse.6te.net/wp-content/themes/nature_wdl/functions.php on line 136
SIRILUK » Blog Archive » การโคลนนิ่ง
Warning: Parameter 1 to wp_default_scripts() expected to be a reference, value given in /home/vhosts/bestoftheuniverse.6te.net/wp-includes/plugin.php on line 487

การโคลนนิ่ง

0

Posted by siriluk tai | Posted in Uncategorized | Posted on 02-02-2013

การโคลนนิ่ง

              ความหมายของโคลนนิ่งในทางปศุสัตว์  คือ  การผลิตสัตว์ให้มีรูปร่างลักษณะแสดงออก  (phenotype)  และลักษณะพันธุกรรม  (genotype)  เหมือนกันทุกประการ  อาจทำได้โดยการตัดแบ่งตัวอ่อน  (embryo  splitting)  หรือการย้ายฝากนิวเคลียส  (nuclear  transfer)

ประโยชน์ของการโคลนนิ่ง

               1.ด้านสาธารณสุข  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับเทคโนโลยีอย่างอื่น  เช่น  การย้ายฝากสารพันธุกรรม

               2.ด้านการเกษตร  สามารถเพิ่มจำนวนสัตว์ที่มีพันธุกรรมดี  โดยย้ายฝากนิวเคลียสจากเซลล์ตัวอ่อนที่มีพันธุกรรมดีเลิศหรือจากโซมาติกเซลล์ของสัตว์เต็มวัยที่พิสูจน์แล้วว่ามีพันธุกรรมและลักษณะที่แสดงออกเป็นที่ต้องการ  เช่น  โคที่ให้น้ำนมมาก  มีความต้านทานโรคสูง  เป็นต้น

วิธีการโคลนนิ่ง

               1.การตัดแบ่งตัวอ่อน  การตัดแบ่งตัวอ่อนเป็น  2  ส่วน  เท่าๆ  กัน  และนำไปย้ายฝากให้ตัวรับ  จะสามารถทำให้ผลิตลูกแฝดที่เหมือนกันทุกประการ  2  ตัว  จากตัวอ่อนใบเดียว  ในการตัดแบ่งตัวอ่อนจำเป็นต้องใช้เครื่องมือเฉพาะดำเนินการ คือ เครื่อง micromanipulator และใช้ไปเปตแก้วที่เรียวเล็กมาก (holding pipette) เพื่อดูดจับตัวอ่อน แล้วใช้เข็มขนาดเล็ก (microneedle) กดตัดแบ่งตัวอ่อน หรืออาจใช้ใบมีดขนาดเล็ก (microblade) เพื่อตัดแบ่ง

               ตัวอ่อนที่ใช้ตัดแบ่งอาจใช้ตัวอ่อนระยะมอรูล่าหรือบลาสโตซีสก็ได้  เมื่อตัดแบ่งแล้วก็นำไปย้ายฝากให้สัตว์ตัวรับ  ในการตัดแบ่งตัวอ่อนนั้นจะต้องตัดแบ่งตัวอ่อนออกเป็น  2  ส่วน  ที่สมมาตร  (symmetry)  กันพอดี  โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนอินเนอร์เซลล์แมส  (inner  cell  mass) ซึ่งในระยะบลาสโตซีสจะสามารถเห็นได้ แต่ระยะมอรูล่าอาจจะตัดแบ่งไม่ได้ส่วนที่สมมาตรกันจริง ๆ เพราะยังไม่มีส่วนอินเนอร์เซลล์แมส 

               2.การย้ายฝากนิวเคลียส  การโคลนนิ่งโดยการย้ายฝากนิวเคลียสอาจใช้นิวเคลียสจากเซลล์ตัวอ่อน  ซึ่งเรียกว่า  เอ็มบริโอนิคเซลล์โคลนนิ่ง (embryonic cell cloning)  หรือใช้เซลล์ร่างกาย (somstic  cell)  เรียกว่าโซมาติกเซลล์โคลนนิ่ง (somatic cell clonig) 

 เซลล์ตัวให้ที่ใช้นิวเคลียส  (donor  cell) เพื่อการย้ายฝากนิวเคลียสจะได้จาก

               1.เซลล์ตัวอ่อนหรือบลาสโทเนียร์  จากตัวอ่อนระยะ  2  เซลล์ถึงระยะมอรูล่า ที่นำมาทำให้เซลล์แยกจากกันเป็นเซลล์เดี่ยว ๆ หรืออาจใช้เซลล์จากอินเนอร์เซลล์แมส ซึ่งจะเป็น embryonic stem cells ที่มีความสามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ทุกชนิดได้ 

               2.เซลล์ร่างกายหรือโซมาติกเซลล์จากสัตว์เต็มวัยหรือลูกอ่อน  เช่น  เซลล์ผิวหนัง  เซลล์เต้านม  เป็นต้น

 

http://www.dld.go.th

 

Write a comment

Free Web Hosting