Posted by siriluk tai | Posted in Uncategorized | Posted on 13-01-2013
Our universe.
ในวงการดาราศาสตร์ได้มีทฤษฎีหนึ่งที่จะอธิบายการกำเนิดจักรวาลและ สาเหตุที่ดาราจักรกำลังเคลื่อนที่คือ ทฤษฎีการระเบิดใหญ่ (big-bang theory หรือทฤษฎีบิกแบง) โดย เลแมตร์ (G.Lemaitre) ได้กล่าวไว้ว่า ในอดีตจักรวาลมี ลักษณะเป็นรูปทรงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6,400 กิโลเมตร (4,000 ไมล์) เลอร์แมตร์ เรียกทรงกลมที่เป็นจุดกำเนิดของสสารนี้ว่า “อะตอมดึกดำบรรพ์” (Primeval Atom) เป็นอะตอมขนาดยักษ์ นำหนักประมาณ 2 พันล้านตันต่อลูกบาศก์นิ้ว (ซึ่งขัดแย้งกับความเป็นจริงกับความหมายของอะตอมในปัจจุบันที่ให้ความหมาย ของอะตอม ว่าเป็นส่วยย่อยของโมเลกุล) อย่างไรก็ตามนักดาราศาสตร์ได้ถกเถียงและค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ อย่างจริงจัง และกาโมว์ (G.Gamow) เป็นคนหนึ่งที่สนับสนุนทฤษฎีของเลอเมตร์ จากผลการคำนวณของกาโมว์ ในขณะที่อะตอมดึกดำบรรพ์ระเบิดขึ้น จะมีอุณภูมิสูงถึง 3 x 10^9 เคลวิน (3,000,000,000 เคลวิน) หลังจากเกิดการระเบิดประมาณ 5 วินาที อุณภูมิได้ลดลงเป็น 10^9 เคลวิน (1,000,000,000 เคลวิน) และเมื่อเวลาผ่านไป 3 x 10^8 ปี (300,000,000 ปี) อุณภูมิของจักรวาลลดลงเป็น 200 เคลวิน

ในที่สุดจักรวาลก็ ตกอยู่ในความมืดและเย็นไปนานมากจนกระทั่งมีดาราจักรเกิดขึ้น จึงเริ่มมีแสงสว่างและอุณภูมิเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปี พ.ศ.2472 ฮับเบิล (Edwin P.Hubble) ได้ศึกษาสเปกตรัมของดาราจักรต่างๆ 20 ดาราจักร ซึ่งอยู่ไกลที่สุดประมาณ 20 ล้านปีแสง พบว่าเส้นสเปกตรัมได้เคลื่อนไปทางแสงสีแดง ดาราจักรที่อยู่ห่างออกไปจะมีการเคลื่อนที่ไปทางแสงสีแดงมาก แสดงว่าดาราจักรต่างๆ กำลังคลื่นที่ห่างไกลออกไปจากโลกทุกทีทุกทีๆ พวกที่อยู่ไกลออกไปมากๆจะมีการเคลื่อนที่เร็วขึ้น ดาราจักรที่ห่างประมาณ2.5พันล้านปีแสง มีความเร็ว 38,000 ไมล์ต่อวินาที ส่วนพวกดาราจักร ที่อยู่ไกลกว่านี้มีควาเร็วมากขึ้นตามลำดับ ความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางของดาราจักรและ ความเร็วแห่งการเคลื่อนที่ เรียกว่า “กฎฮับเบิล” ทฤษฎีนี้อาจเรียกว่า “การระเบิดของจักรวาล” (Exploding Universe) ซึ่งก็สนับสนุนกับแนวคิดของเลแมตร์เช่นกัน

ข้อมูลมาจาก…http://www.oknation.net/blog/print.php?id=782173
Posted by siriluk tai | Posted in Uncategorized | Posted on 13-01-2013
การเปลี่ยนแปลงแนววงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์
สำหรับวันนี้เราก็จะมารู้จักกับการเปลี่ยนแปลงแนววงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์กันนะค่ะ เพราะหลายคนอาจจะสงสัยว่าโลกมีวงโคจรแบบใดและดวงอาทิตย์มีวงโคจรแบบใด ดังนั้นเราก็จะมารู้จักกันเลยนะค่ะ

แม้ว่าความแตกต่างของระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ (โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี) จะมีผลต่อความแตกต่างของอุณหภูมิตามฤดูกาลต่าง ๆ น้อยก็ตาม แต่จะมีบทบาทที่สำคัญมาก ต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก ในช่วงระยะเวลานับพันปีระยะทางระหว่างโลก กับดวงอาทิตย์ที่ไกลที่สุด (Aphelion) ประมาณ 94.5 ล้านไมล์ ในวันที่ 4กรกฎาคม ซีกโลกเหนืออยู่ในระหว่างฤดูร้อน กับระยะทางที่ใกล้ที่สุด(Perihelion) ประมาณ 91.5 ล้านไมล์ ในวันที่ 3 มกราคม ซีกโลกเหนืออยู่ในระหว่างฤดูหนาว แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ทำให้โลกได้รับพลังงานรังสีดวงอาทิตย์ในเดือนมกราคม มากกว่าในเดือนกรกฎาคม ประมาณ 6% อย่างไรก็ตาม รูปร่างวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ จะเปลี่ยนแปลงไปในรอบ 90,000-100,000 ปี วงโคจรจะยาวและรีมากขึ้น เมื่อถึงเวลานั้น ประมาณพลังงานรังสีดวงอาทิตย์ที่โลกได้รับขณะที่โลกอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด มากกว่าขณะที่โลกอยู่ไกลดวงอาทิตย์มากที่สุดถึง20 – 30% ซึ่งจะมีผลทำให้ภูมิอากาศแตกต่างจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างแน่นอนที่สุด

เวลาสุริยะคติ (Solar time) เป็นเวลาพื้นฐานตามความรู้สึกของมนุษย์ วันสุริยะคติ (Solar day) เป็นช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงวันครั้งหนึ่งถึงเที่ยงวันครั้งถัดไป ซึ่งเกิดจากการหมุนรอบตัวเองของโลก แต่เนื่องจากโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี และแกนหมุนของโลกเอียงไปจากแนวตั้งฉากของระนาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดังนั้น ในแต่ละวัน เราจึงเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นและตกเปลี่ยนตำแหน่งไปตามเส้นสุริยะวิถี และความยาวนานของแต่ละวันมีค่าไม่เท่ากัน จึงมีการนิยามวันสุริยะคติเฉลี่ย (Mean solar day) ขึ้นมา เป็นวันที่เกิดจากวงอาทิตย์สมมติหรือดวงอาทิตย์เฉลี่ยที่มีทางโคจรที่สม่ำเสมอบนท้องฟ้ามาพิจารณาแทนดวงอาทิตย์จริง 24 ชม. วันดาราคติจะมีเพียงแค่23 ชม. 56 น. 4 วิ. ของเวลาสุริยะคติ
http://blog.eduzones.com/wanwan/16896
Posted by siriluk tai | Posted in Uncategorized | Posted on 13-01-2013
ดวงจันทร์ของโลก
สำหรับวันนี้นะค่ะพี่ก็มีเกร็ดความรู้ที่จะนำมาเสนออีกเช่นเคยนะค่ะ สำหรับเกร็ดความรู้ในวันนี้พี่เชื่อนะค่ะว่าหลายๆคนอาจจะเคยได้ยินเขาพูดถึงดวงจันทร์กันบ่อยๆหลายคนก็รู้นะค่ะว่าดวงจันทร์หรือพระจันทร์ของเรานี้มีหน้าที่สำคัญอะไร แต่พี่ว่าถ้าเราอยากจะรู้จักกับดวงจันทร์จริงๆงั้นก็ตามพี่มารู้จักกันได้เลยนะค่ะ

ดวงจันทร์ เป็นบริวารของโลก เป็นวัตถุทึบแสงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1/4 ของโลก อยู่ห่างโลกประมาณ 30 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของโลกเท่านั้น ดวงจันทร์จึงเป็นวัตถุธรรมชาติที่อยู่ใกล้โลกที่สุด
เรามองเห็นดวงจันทร์ได้เพราะพื้นผิวดวงจันทร์สะท้อนแสงอาทิตย์มาเข้าตาเรา แต่ส่วนสว่างของดวงจันทร์ที่หันมาทางโลกไม่เท่ากันทุกวัน ทั้งนี้เพราะดวงจันทร์เคลื่อนรอบโลกรอบละประมาณ 1 เดือน ดังนั้นขนาดปรากฏของดวงจันทร์บนฟ้าจึงเปลี่ยนแปลง เช่นเห็นเป็นเสี้ยวเล็ก ๆ วันต่อมาเห็นโตขึ้นและหลายวันต่อมาเป็นจันทร์เพ็ญ ช่วงนี้เราเรียกว่าดวงจันทร์ข้างขึ้น ซึ่งหมายความว่าดวงจันทร์สว่างขึ้น ภายหลังข้างขึ้นจะเป็นข้างแรม ขนาดปรากฏของดวงจันทร์สว่างลดลงจากรูปวงกลมเป็นรูปครึ่งวงกลมและเป็นเสี้ยวเล็ก ๆ จนมองไม่เห็นเรียกว่าวันเดือนดับ เราเรียกปรากฏการณ์ การเกิดข้างขึ้นข้างแรมว่าเป็นดิถีของดวงจันทร์

ปฏิทินที่อาศัยดวงจันทร์เรียกว่าปฏิทินจันทรคติ ปฏิทินจันทรคติของไทย กำหนดให้ 1 ปีมี 12 เดือน ได้แก่เดือนเลขคี่และเดือนเลขคู่ เดือนคี่คือเดือนขาดมี 29 วัน โดยเริ่มต้นจากวันขึ้น 1 ค่ำถึง แรม 14 ค่ำ เดือนเหล่านี้คือเดือนอ้าย เดือน 3 เดือน 5 เดือน 7 เป็นต้น เดือนคู่คือเดือนเต็มมี 30 วัน ได้แก่เดือนยี่ เดือน 4 เดือน 6 ฯลฯ เดือนเหล่านี้จึงมีวันกลางเดือนเป็นวันขึ้น 15 ค่ำและวันสิ้นเดือนเป็นวันแรม 15 ค่ำ
ค่ะเราก็ได้รู้จักกับดวงจันทร์มาเยอะแล้วนะค่ะว่าดวงจันทร์คืออะไร ปฎิทินเรียกดวงจันทร์ว่าอะไร แล้ววันนี้เกร็ดความรู้ก็ยังไม่หมดนะค่ะเพราะว่าวันนี้พี่ขนเกร็ดความรู้มาฝากทุกๆคนเพียบเลยนะค่ะ เอาล่ะค่ะเราไปทำความรู้จักกับปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นกับดวงจันทร์ไม่ว่าจะเป็นข้างขึ้นข้างแรมว่าปรากฎการณ์เหล่านี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับดวงจันทร์อย่างไร ไปทำความรู้จักกันเลยค่ะ
การเกิดข้างขึ้น-ข้างแรม
การเกิดข้างขึ้น-ข้างแรม หมายถึง การมองเห็นดวงจันทร์มืดหรือสว่างอันเนื่องมาจากดวงจันทร์โคจรรอบโลก โดยส่วนสว่างที่หันมาทางโลก เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของดวงจันทร์บนทางโคจรรอบโลก เป็นต้น

เกร็ดความรู้พี่ก็ขอจบเพียงเท่านี้นะค่ะ สำหรับวันหน้าติดตามเกร็ดความรู้ตอนต่อไปได้นะค่ะ
http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/worldstar/sc31-4-2.htm
Posted by siriluk tai | Posted in Uncategorized | Posted on 13-01-2013
ดาวพุธแห่งระบบสุริยะ
วันนี้ก็กลับมาเจอกับพี่อีกเหมือนเดิมนะค่ะ สำหรับวันนี้พี่ก้มีเกร็ดความรู้มานำเสนออีกเช่นเคยนะค่ะ น้องๆเคยได้ยินคำว่า ”เตาไฟแช่แข็ง” หรือเปล่าค่ะ อ๊ะๆบางคนก็อาจจะเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วแต่บางคนก็ยังไม่เคยได้ยินเลย อ้าวจะเคยได้ยินหรือไม่ก็ตามแต่นะค่ะ แต่สำหรับวันนี้พี่จะมาไปค้นหาฉายาที่ว่า”เตาไฟแช่แข็ง” ว่าเป็นฉายาของดาวดวงไหน งั้นก็อย่ามัวเสียเวลาเลยนะค่ะเรามารู้กับ”เตาไฟแช่แข็ง” กันเลยค่ะ

ดาวพุธ
ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดดังนั้นดาวพุธจึงร้อนจัดในเวลากลางวันและเย็นจัดในเวลวกลางคืนดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ดวงเล็กโตกว่าดวงจันทร์ของเราเพียงเล็กน้อย ภาพถ่ายทั้งหลายที่เกี่ยวกับดาวพุธได้จากยานอวกาศที่ส่งขึ้นไปขณะเข้าไปใหล้ดาวพุธที่สุดก็จะถ่ายภาพส่งมายังโลก ทำให้รู้ว่าพื้นผิวดาวพุธคล้ายกับผิวดวงจันทร์ ผิวดาวพุธส่วนใหญ่เป็นฝุ่นและหิน มีหลุมลึกมากมาย ไม่มีอากาศ ไม่มีน้ำ ดาวพุธจึงเป็นดาวแห้งแล้ง ดาวแห่งความตายเป็นโลกแห่งทะเลทราย

สำหรับเกร็ดความรู้ที่พี่จะมานำเสนอในวันนี้ก็มีเพียงเท่านี้ คราวหน้าพี่ก็มีเกร็ดความรู้มานำเสนออีกเช่นเคยอย่าลืมติดตามนะค่ะ
http://www.thaigoodview.com
Posted by siriluk tai | Posted in Uncategorized | Posted on 13-01-2013
Welcome to WordPress. This is your first post. Edit or delete it, then start blogging!