ดวงจันทร์ของโลก
สำหรับวันนี้นะค่ะพี่ก็มีเกร็ดความรู้ที่จะนำมาเสนออีกเช่นเคยนะค่ะ สำหรับเกร็ดความรู้ในวันนี้พี่เชื่อนะค่ะว่าหลายๆคนอาจจะเคยได้ยินเขาพูดถึงดวงจันทร์กันบ่อยๆหลายคนก็รู้นะค่ะว่าดวงจันทร์หรือพระจันทร์ของเรานี้มีหน้าที่สำคัญอะไร แต่พี่ว่าถ้าเราอยากจะรู้จักกับดวงจันทร์จริงๆงั้นก็ตามพี่มารู้จักกันได้เลยนะค่ะ
ดวงจันทร์ เป็นบริวารของโลก เป็นวัตถุทึบแสงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1/4 ของโลก อยู่ห่างโลกประมาณ 30 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของโลกเท่านั้น ดวงจันทร์จึงเป็นวัตถุธรรมชาติที่อยู่ใกล้โลกที่สุด
เรามองเห็นดวงจันทร์ได้เพราะพื้นผิวดวงจันทร์สะท้อนแสงอาทิตย์มาเข้าตาเรา แต่ส่วนสว่างของดวงจันทร์ที่หันมาทางโลกไม่เท่ากันทุกวัน ทั้งนี้เพราะดวงจันทร์เคลื่อนรอบโลกรอบละประมาณ 1 เดือน ดังนั้นขนาดปรากฏของดวงจันทร์บนฟ้าจึงเปลี่ยนแปลง เช่นเห็นเป็นเสี้ยวเล็ก ๆ วันต่อมาเห็นโตขึ้นและหลายวันต่อมาเป็นจันทร์เพ็ญ ช่วงนี้เราเรียกว่าดวงจันทร์ข้างขึ้น ซึ่งหมายความว่าดวงจันทร์สว่างขึ้น ภายหลังข้างขึ้นจะเป็นข้างแรม ขนาดปรากฏของดวงจันทร์สว่างลดลงจากรูปวงกลมเป็นรูปครึ่งวงกลมและเป็นเสี้ยวเล็ก ๆ จนมองไม่เห็นเรียกว่าวันเดือนดับ เราเรียกปรากฏการณ์ การเกิดข้างขึ้นข้างแรมว่าเป็นดิถีของดวงจันทร์
ปฏิทินที่อาศัยดวงจันทร์เรียกว่าปฏิทินจันทรคติ ปฏิทินจันทรคติของไทย กำหนดให้ 1 ปีมี 12 เดือน ได้แก่เดือนเลขคี่และเดือนเลขคู่ เดือนคี่คือเดือนขาดมี 29 วัน โดยเริ่มต้นจากวันขึ้น 1 ค่ำถึง แรม 14 ค่ำ เดือนเหล่านี้คือเดือนอ้าย เดือน 3 เดือน 5 เดือน 7 เป็นต้น เดือนคู่คือเดือนเต็มมี 30 วัน ได้แก่เดือนยี่ เดือน 4 เดือน 6 ฯลฯ เดือนเหล่านี้จึงมีวันกลางเดือนเป็นวันขึ้น 15 ค่ำและวันสิ้นเดือนเป็นวันแรม 15 ค่ำ
ค่ะเราก็ได้รู้จักกับดวงจันทร์มาเยอะแล้วนะค่ะว่าดวงจันทร์คืออะไร ปฎิทินเรียกดวงจันทร์ว่าอะไร แล้ววันนี้เกร็ดความรู้ก็ยังไม่หมดนะค่ะเพราะว่าวันนี้พี่ขนเกร็ดความรู้มาฝากทุกๆคนเพียบเลยนะค่ะ เอาล่ะค่ะเราไปทำความรู้จักกับปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นกับดวงจันทร์ไม่ว่าจะเป็นข้างขึ้นข้างแรมว่าปรากฎการณ์เหล่านี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับดวงจันทร์อย่างไร ไปทำความรู้จักกันเลยค่ะ
การเกิดข้างขึ้น-ข้างแรม
การเกิดข้างขึ้น-ข้างแรม หมายถึง การมองเห็นดวงจันทร์มืดหรือสว่างอันเนื่องมาจากดวงจันทร์โคจรรอบโลก โดยส่วนสว่างที่หันมาทางโลก เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของดวงจันทร์บนทางโคจรรอบโลก เป็นต้น
เกร็ดความรู้พี่ก็ขอจบเพียงเท่านี้นะค่ะ สำหรับวันหน้าติดตามเกร็ดความรู้ตอนต่อไปได้นะค่ะ
http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/worldstar/sc31-4-2.htm
เว็บนี้ความรู้เยอะแยะเลยค่ะ