Warning: Declaration of Walker_Comment2::start_lvl(&$output, $depth, $args) should be compatible with Walker::start_lvl(&$output, $depth = 0, $args = Array) in /home/vhosts/bestoftheuniverse.6te.net/wp-content/themes/nature_wdl/functions.php on line 136

Warning: Declaration of Walker_Comment2::end_lvl(&$output, $depth, $args) should be compatible with Walker::end_lvl(&$output, $depth = 0, $args = Array) in /home/vhosts/bestoftheuniverse.6te.net/wp-content/themes/nature_wdl/functions.php on line 136

Warning: Declaration of Walker_Comment2::start_el(&$output, $comment, $depth, $args) should be compatible with Walker::start_el(&$output, $object, $depth, $args, $current_object_id = 0) in /home/vhosts/bestoftheuniverse.6te.net/wp-content/themes/nature_wdl/functions.php on line 136

Warning: Declaration of Walker_Comment2::end_el(&$output, $comment, $depth, $args) should be compatible with Walker::end_el(&$output, $object, $depth = 0, $args = Array) in /home/vhosts/bestoftheuniverse.6te.net/wp-content/themes/nature_wdl/functions.php on line 136
SIRILUK » Uncategorized

ดาวพลูโต

0

Posted by siriluk tai | Posted in Uncategorized | Posted on 02-02-2013

ดาวพลูโต

     วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับดาวพลุโต  ซึ่งเป็นดาวที่หลุดออกจากวงโคจรของเรากันเลยนะค่ะ

                       เมื่อมีการค้นพบดาวเนปจูน ได้ประมาณขนาดและการหมุนรอบของมัน แต่ผลที่ออกมาไม่ได้เป็นไปตามที่คาดคิด ผลที่ได้ไม่สามารถอธิบายการหมุนที่ผิดปกติของดาวยูเรนัส บางทีอาจมีดาวเคราะห์อีกดวงที่อยู่ถัดจากดาวเนปจูน บางทีอาจเป็นแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ดวงนี้ดึงดูดดาวยูเรนัส ได้มีการเริ่มค้นหาดาวเคราะห์ดวงที่เก้าในระบบสุริยะ ดาวเคราะห์ดวงใหม่นี้ถูกค้นพบในปี 1930 ชาวอเมริกันชื่อ Clyde Tombaugh ได้ถ่ายภาพของมันบนท้องฟ้า ดาวเคราะห์ดวงนี้มีชื่อว่าดาวพูลโต สามารถมองเห็นได้โดยการใช้กล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่เท่านั้น

                      เวลาส่วนใหญ่แล้วดาวพูลโตจะเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างไกลดวงอาทิตย์มากที่สุด ในระหว่างการหมุนบางช่วงจะใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าดาวเนปจูน และอยู่ห่างไกลที่สุดในปี 1999 ดาวพูลโตเป็นดาวขนาดเล็ก โดยมีขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ และยังเล็กกว่าดวงจันทร์ของโลก บนดาวมีความหนาวเย็นมากและอาจไม่มีชั้นบรรยากาศ พื้นผิวของมันอาจปกคลุมด้วยน้ำแข็งหรือก๊าซของแข็ง เราคิดว่าดาวพูลโตประกอบขึ้นด้วยน้ำแข็งโดยมีแกนเป็นหิน ลักษณะอาจจะเหมือนดาวบริวารของดาวยูเรนัส บางทีครั้งหนึ่ง ดาวพูลโตอาจเคยเป็นดาวบริวารของดาวเนปจูนซึ่งหนีการหมุนรอบดาวเนปจูน

http://www.thaigoodview.com

 

ดาวยูเรนัส

0

Posted by siriluk tai | Posted in Uncategorized | Posted on 02-02-2013

ดาวยูเรนัส

    วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับดาวยูเรนัสกันะค่ะ   

            ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ดวงแรกที่ถูกค้นพบโดยใช้กล้องโทรทรรศน์ ผู้ที่ค้นพบ คือ วิลเลียม เฮอร์เชล (William Herschel) ในปี ค.ศ. 1781 (พ.ศ. 2324) องค์ประกอบหลักของดาวยูเรนัสคือไฮโดรเจนและฮีเลียม โดยมีมีเทนปะปนอยู่ด้วยทำให้เราเห็นสีของดาวยูเรนัสเป็นสีน้ำเงินเขียว (ช่วงคลื่นสีแดงถูกดูดกลืนโดยมีเทน) แกนหมุนของดาวยูเรนัสทำมุมเกือบจะตั้งฉากกับแกนหมุนของดาวโดยทั่วไป (แกนหมุนขนานกับระนาบการโคจร) ทำให้การโคจรของดาวยูเรนัสดูเหมือนเป็นการกลิ้งไปบนระนาบการโคจร สาเหตุที่แกนหมุนของดาวยูเรนัสผิดแปลกจากดาวดวงอื่นสันนิษฐานว่าเกิดจากการชนกับวัตถุท้องฟ้าขนาดใหญ่ประมาณดาวเคราะห์ สนามแม่เหล็กของดาวยูเรนัสก็แปลกไปจากดาวดวงอื่นกล่าวคือมีแกนสนามแม่เหล็กที่เอียงจากแกนหมุนถึง 60 องศา และสภาพสนามแม่เหล็กก็มีรูปร่างที่แปลก ไม่เป็นแม่เหล็กสองขั้วอย่างชัดเจนเหมือนดาวดวงอื่น ในปัจจุบันจำนวนดาวบริวารของยูเรนัสที่ถูกค้นพบ คือ 27 ดวง

 

 http://www.thaispaceweather.com

 

ดาวอังคาร

0

Posted by siriluk tai | Posted in Uncategorized | Posted on 02-02-2013

ดาวอังคาร

         วันนี้นะค่ะถ้าพูดถึงดาวอีกดวงหนึ่งที่ได้ข่าวลือมาว่ามนุษย์สามารถไปอยู่ได้นั้นก้คือ   ดาวอังคารเราไปรู้จักกับดาวอังคารกันเลยนะค่ะ

                ดาวอังคารบางทีก็เรียกกันว่าดาวแดงเพราะผิวพื้นเป็นหินสีแดงหินบนดาวอังคารที่มีสีแดงก็เพราะเกิดสนิมท้องฟ้าของดาวดังคารเป็นสีชมพูเพราะฝุ่นจากหินแดงที่ว่านี้ ผิวของดาวอังคารเหมือนกับทะเลหินแดง มีก้องหินใหญ่และหลุมลึก ภูเขาสูง หุบ เหว และเนินมากมาย หนึ่งปีบนดาวอังคารเกือบเทาสองปีโลก แต่หนึ่งวันบนดาวอังคารจะนานกว่าครึ่งชั่งโมงโลกเพียงเล็กน้อยดาวอังคารมีอากาศห่อหุ้มอยู่ไม่มากและเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลมพัดแรงจัดทำให้ฝุ่นฟุ้ง ไปทั้งดวงดาว ดาวอังคารมีขนาดโตประมาณครึ่งหนึ่งของโลก ดาวอังคารอยูไกลดวงอาทิตย์มากกว่าโลกจึงทำให้มีบรรยากาศหนาวเย็น อุณหภูมิบนดาวดวงนี้จะต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง


              ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ที่ได้รับความสนใจมากที่สุด ในบรรดาดาวเคราะห์บนฟ้าทั้งหมด เพราะเคยมีคนเชื่อว่า มีมนุษย์อยู่บนดาวเคราะห์สีแดงดวงนี้ ดาวอังคารยังเป็นดาวเคราะห์ที่มีโอกาสเข้ามาใกล้โลกเกือบพอๆ กับดาวศุกร์ โดยระยะใกล้ที่สุดจะอยู่ภายใน 40 ล้านกิโลเมตร เมื่อใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ที่มีกำลังแยกภาพสูงสุด ส่องดาวอังคารขณะอยู่ใกล้โลกที่สุด จะเห็นรายละเอียดได้ถึง 150 กิโลเมตร ซึ่งเทียบได้กับการเห็นริ้วรอยบนดวงจันทร์ด้วยตาเปล่า ที่กำลังแยกภาพขนาดนี้จะไม่เห็นรายละเอียดของพื้นผิว เช่นไม่เห็นภูเขาหรือหุบเหว หรือหลุมบ่อของดาวอังคาร แต่จะเห็นโครงสร้างใหญ่ๆ เช่นขั้วน้ำแข็งสีขาว หรือริ้วรอยสีคล้ำซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลของดาวอังคาร สาเหตุที่มีผู้เชื่อว่ามีมนุษย์อาศัยอยู่บนดาวอังคาร เนื่องจากนักดาราศาสตร์ชาวอิตาลีชื่อ จิโอวานนี ชิอาพาเรลลี รายงานเมื่อ พ.ศ. 2420 ว่าเขาได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ส่งพบร่องที่เป็นเส้นตรงจำนวนมากบนพื้นผิว และเรียกเป็นภาษาอิตาลีว่า คานาลี (canale) ซึ่งมีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า channel (ช่องหรือทาง) แต่คนอังกฤษเอาไปแปลว่า canal (คลอง) อันเป็นสิ่งซึ่งต้องขุดสร้างขึ้น ผู้ขุดสร้างคลองบนดาวอังคารจึงต้องเป็นมนุษย์ดาวอังคาร เพื่อนำน้ำจากขั้วมายังบริเวณศูนย์สูตรสำหรับการเพาะปลูก จุดนี้เองที่นำไปสู่การเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ ที่ทำให้เชื่อว่ามีมนุษย์ดาวอังคาร ซึ่งจะเดินทางมาบุกโลก ผู้ที่สนับสนุกความคิดเรื่องมนุษย์ดาวอังคารสร้างคลองส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูก คือ เปอร์ซิวัล โลเวลล์ นักดาราศาสตร์อเมริกันและเป็นสมาชิกของครอบครัวที่มั่งคั่งในรัฐแอริโซนา เขาได้ทำแผนที่แสดงคลองต่างๆ บนดาวอังคาร แต่ต่อมามีนักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังแยกภาพที่ดีกว่า ตรวจไม่พบคลองบนดาวอังคาร แต่ชาวบ้านทั่วไปยังฝังใจเชื่ออยู่ จนกระทั่งถึงยุคอวกาศจึงปรากฏชัดว่าไม่มีคลองบนดาวอังคารแน่นอน พื้นผิวดาวอังคารมีหลุมบ่อ หุบเหว ภูเขา และมีปล่องภูเขาไฟ มีร่องเหมือนเป็นทางน้ำไหลมาก่อน ดังจะได้กล่าวต่อไปในหัวข้อการสำรวจดาวอังคารโดยยานอวกาศ

 

             ยานอวกาศลำแรกที่ประสบความสำเร็จในการผ่านใกล้ดาวอังคาร คือ ยานมารีเนอร์ 4 ของสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 ภาพที่ถ่ายทอดกลับมาจำนวน 22 ภาพแสดงให้เห็นว่าพื้นผิวดาวอังคารมีหลุมและบ่อมากมาย ยานอวกาศมารีเนอร์อีกหลายลำต่อมา สามารถถ่ายภาพพื้นผิวรวมกันแล้วได้ครบทั่วทุกบริเวณ โดยเห็นภาพละเอียดถึง 1 กิโลเมตร ภาพถ่ายเหล่านี้ช่วยให้นักภูมิศาสตร์ทำแผนที่ของดาวอังคารได้ทั้งดวง บนพื้นผิวของดาวอังคารจึงพบการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทางธรณีวิทยา เช่น ปล่องภูเขาไฟ หุบเหวกว้างและลึกร่องที่เหมือนกับร่องน้ำที่เคยเป็นทางน้ำไหลมาก่อน ยานที่สำรวจดาวอังคารต่อจากยานมารีเนอร์ คือ ยานไวกิง 2 ลำ แต่ละลำประกอบด้วยยานลำแม่ที่เคลื่อนรอบดาวอังคาร ในขณะที่ส่งยานลูกลงสัมผัสพื้นผิวดาวอังคาร ยานไวกิง 1 ลงที่ไครส์ พลาทิเนีย (Chryse Planitia) ซึ่งแปลว่า ที่ราบแห่งทองคำ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 เป็นเวลา 7 ปีหลังจากที่ นีล อาร์มสตรอง เหยียบดวงจันทร์ ต่อจากนั้นอีก 2 เดือน ยานไวกิง 2 ก็ลงในที่ราบทางเหนือชือที่ราบยูโทเปีย (Utopia) ยานทั้งสองมีแขนกลยื่นออกไปตักดินบนดาวอังคารมาวิเคราะห์ภายในยาน เพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิต หรือซากของสิ่งมีชีวิต แต่การวิเคราะห์ไม่ยืนยันว่ามีหรือเคยมีสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร ต่อจากยานไวกิงคือ ยานมาร์สพาธไฟเดอร์ ที่นำรถโซเจนเนอร์ไปด้วย ยานได้ลงบนพื้นผิวดาวอังคารเมื่อเดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2540 ภาพที่น่าตื่นเต้นคือการติดตามรถคันเล็กๆ เคลื่อนที่สำรวจก้อนหินใกล้ฐานซึ่ง ต่อมาได้รับชื่อว่า ฐานเซแกน ภาพก้อนหินที่เรียงในทิศทางเดียวกันชี้ให้ เห็นว่าบนดาวอังคารเคยมีน้ำไหลมาก่อน ล่าสุดยานมาร์สโกลบอล เซอร์เวเยอร์ ซึ่งกำลังเคลื่อนรอบดาวอังคารได้ส่งภาพหุบเหวที่เป็นร่องลึกหรือที่เรียกว่า แคนยอน ซึ่งคดเคี้ยวไปมา ในอนาคตสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น มีโครงการที่จะส่งยานอวกาศไปเก็บดินจากดาวอังคารกลับมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการบนโลก และอีกไม่นานมนุษย์จะเดินทางไปดาวอังคารเช่นเดียวกับการลงบนดวงจันทร์ เมื่อ พ.ศ. 2512

http://www.manager.co.th

 

 

 

โลก

0

Posted by siriluk tai | Posted in Uncategorized | Posted on 02-02-2013

โลก

    วันนี้พี่จะพาเราไปรู้จักกับโลก  ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์ทุกคน

           โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นวงโคจรซึ่งใช้เวลา 365.25 วัน เพื่อให้ครบ 1 รอบ ปฏิทินแต่ละปีมี 365 วัน ซึ่งหมายความว่าจะมี 1/4 ของวันที่เหลือในแต่ละปี ซึ่งทุกๆปีสี่ปีจะมีวันพิเศษ คือจะมี 366 วัน กล่าวคือเดือนกุมภาพันธ์จะมี 29 วัน แทนที่จะมี 28 วันเหมือนปกติ ตามที่เคปเลอร์ค้นพบวงโคจรของโลกไม่เป็นวงกลม ในเดือนธันวาคมมันจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าเดือนมิถุนายน ซึ่งมันจะอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุด โลกจะเอียงไปตามเส้นแกน ในเดือนมิถุนายน ซีกโลกเหนือจะเอียงไปทางดวงอาทิตย์ดังนั้น ซีกโลกเหนือจะเป็นฤดูร้อนและซีกโลกใต้จะเป็นฤดูหนาว ในเดือนธันวาคมจะเอียงจากดวงอาทิตย์ ทำให้ซีกโลกเหนือเป็นฤดูหนาวและซีกโลกใต้เป็นฤดูร้อน ในเดือนมีนาคมและกันยายน ซีกโลกทั้งสองไม่เอียงไปยังดวงอาทิตย์ กลางวันและกลางคืนจึงมีความยาวเท่ากัน ในเดือนมีนาคม ซีกโลกเหนือจะเป็นฤดูใบไม้ผลิ และซีกโลกใต้เป็นฤดูใบไม้ร่วง ในเดือนกันยายน สถานการณ์จะกลับกัน

โลกมีอายุประมาณ 4,700 ปี โลกไม่ได้มีรูปร่างกลมโดยสิ้นเชิง เส้นรอบวงที่เส้นศูนย์สูตรยาว 40,077 กิโลเมตร (24,903 ไมล์)และที่ขั่วโลกยาว 40,009 กิโลเมตร (24,861 ไมล์)

           ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ จะมีฤดูกาลเป็นของตนเองและระยะของการโคจร ความยาวของปีดาวเคราะห์เป็นเวลาที่มันหมุนรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบ ถ้าคุณอยู่บนดาวพุธ ปีของคุณจะมีเพียง 88 วันของโลก บนดาวพูลโต ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่นอกสุดหนึ่งปีจะเท่ากับ 248 วันบนโลก

http://student.nu.ac.th/Solarsystem/EARTH.html

 

ดาวเสาร์

0

Posted by siriluk tai | Posted in Uncategorized | Posted on 02-02-2013

       ดาวเสาร์

             เมื่อพูดถึงดาวที่วงแหวนเป็นของตนเองเราก็ต้องนึกถึงดาวเสาร์เป็นดวงแรกงั้นเราไปทำความรู้จักกันเลยดีกว่า

            ดาวเสาร์เป็นชื่อของเทพเจ้า แห่งการเกษตร ชื่อ Saturn เป็นดาวเคราะห์ ที่มีวงแหวนที่สวยงาม ซึ่งประกอบด้วยฝุ่น และน้ำแข็ง นับร้อยวงเลยทีเดียว

           ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่เป็นที่ 2 รองจากดาวพฤหัสบดี ่โคจรห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 6 ถัดจากดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่สวยงามที่สุด เพราะปรากฏมีวงแหวนล้อมรอบตัวดวง เมื่อส่องดูด้วยกล้องโทรทรรศน์ มีสีค่อนข้างเหลือง จะเคลื่อนตัวช้าๆ ผ่านไปยังกลุ่มดาวจักรราศี

            ดาวเสาร์มีเส้นผ่านศูนย์กลางโดยเฉลี่ยประมาณ 119,871 กิโลเมตร หรือประมาณ 9 เท่าของโลก โคจรอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นระยะทางเฉลี่ย 9.54 หน่วยดาราศาสตร์ แสงจากดวงอาทิตย์ต้องใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 15 นาที จึงจะถึงดาวเสาร์ ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์นานถึง 29.46 ปีของโลก ด้วยอัตรา ความเร็ว 9.64 กิโลเมตรต่อวินาที และหมุนรอบตัวเอง 1 รอบกินเวลา 10 ชั่วโมง 40 นาที ซึ่งเร็วมากทำให้ดาวเสาร์มีลักษณะป่องในแนวเส้นศูนย์สูตร และสามารถเห็นได้ชัดเจนเมื่อมองด้วยกล้องโทรทรรศน์จากโลก

http://student.nu.ac.th/Solarsystem/SATURN.html

 

ดาวพฤหัส

0

Posted by siriluk tai | Posted in Uncategorized | Posted on 02-02-2013

ดาวพฤหัส

        ค่ะวันนี้เราจะมารู้จักกับดาวพฤหัสกันเลยนะค่ะ   ซึ่งเป็นดาวที่พี่ชอบที่สุดในจักรวาลเลยละ

            ดาวพฤหัสบเป็นชื่อของเทพเจ้า Jupiter (หรือ Zeus) ซึ่งเป็นราชาของเทพเจ้าทั้งปวง และดาวพฤหัส ก็เป็นดาวเคราะห์ ที่ใหญ่ที่สุด ในระบบสุริยะจักรวาลของเรา มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 11 เท่าของโลก มีระบบดาวบริวารของตนเอง ไม่ต่ำกว่า 16 ดว

            ดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นอันดับที่ 5 และเป็นดาวเคราะห์ดวงใหญ่ที่สุด ในระบบสุริยะ มีมวลมากกว่าโลกกว่า 317 เท่าแต่มีขนาดใหญ่กว่าโลก 1,400 เท่า หากดาวพฤหัสมีมวลมากกว่าอีก 100 เท่า ดาวพฤหัสก็จะกลายเป็นดาวฤกษ์ขนาดเล็กๆได้เลย

            ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ เป็น ดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์โคจรห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 5 ถัดจากดาวอังคาร มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 142,984 กิโลเมตร มีเนื้อสารมากที่สุด และมากกว่า ดาวเคราะห์ ทุกดวงรวมกัน มีมวลราว 318.1 เท่าของโลก ใช้เวลาในการหมุนรอบ ตัวเอง เร็วมากประมาณ 9 ชั่วโมง 55 นาที หรือ 10 ชั่วโมงต่อ 1 รอบ แต่ใช้เวลา โคจรรอบ ดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลานานถึง 12 ปีของโลก ด้วยความเร็ว 13.06 กิโลเมตรต่อวินาที ดาวพฤหัสจะเคลื่อนที่ช้าๆ ผ่านกลุ่มดาวจักรราศีได้ ประมาณ ปีละ 1 กลุ่ม

          ดาวพฤหัสบดีอยู่ห่างจากโลก 5.2 หน่วยดาราศาสตร์หรือประมาณ 780 ล้านกิโลเมตร แรงดึงดูดที่ผิว ของ ดาวพฤหัสบดีสูงกว่าโลก 2.64 เท่า นั่นหมายถึงว่าถ้าอยู่บนโลกเราหนัก 50 กิโลกรัม แต่ถ้าไปอยู่บนดาวพฤหัสบดี จะมีน้ำหนักถึง 132 กิโลกรัม ดาวพฤหัสบดีมีดวงจันทร์เป็นบริวาร ขณะนี้ถึง 16 ดวง แต่ถ้าใช้กล้องโทรทัศน์ส่อง ดูแล้ว จะเห็นดวงจันทร์บริวารขนาดใหญ่ 4 ดวง แต่ละดวงจะโตกว่าดวงจันทร์ของโลกเรา ดวงจันทร์ทั้ง 4 ดวง ส่องกล้องพบโดย กาลิเลโอ บิดาวิชาดาราศาสตร์ภาคสังเกตการณ์ ชาวอิตาลี เมื่อปี พ.ศ. 2153 (ค.ศ.1610) จึงได้ชื่อว่า ดวงจันทร์กาลิเลียน เรียงตามลำดับ ระยะห่างจากดาวพฤหัสบดี คือ ไอโอ (lo) ยุโรปา (Europa) แกนิมีด (Ganymede) และ คัลลิสโต (Callisto) ดวงที่ใหญ่ที่สุดคือแกนิมีด (Ganymedq aze)

 

     เกร็ดความรู้ของพี่วันนี้ก็มีเท่านี้  ไว้คราวหน้าเจจอกันใหม่นะค่ะ 

http://www.rmutphysics.com

 

 

ดาวศุกร์

0

Posted by siriluk tai | Posted in Uncategorized | Posted on 02-02-2013

 ดาวศุกร์

            หลายคนมีความเชื่อเรื่องดาวแห่งความรัก    วันนี้ทุกคนอาจจะสงสัยนะค่ะว่าพี่พูดถึงความรักทำไม  อ๊ะๆ   แล้วก็ไม่ต้องสงสัยอะไรนะค่ะเพราะวันนี้พี่เกร็ดความรู้เกี่ยวกับดาวศุกร์ซึ่งเป็นดวงดาวแห่งความรักนั่นเองค่ะ

    

             เป็นชื่อเทพธิดาแห่งความงาม (Venus) เนื่องจาก เป็นดาวเคราะห์ที่สว่างที่สุด เมื่อมองจากโลก และสังเกตเห็นได้ง่าย แม้ว่า ความเป็นจริงแล้ว ดาวดวงนี้ จะไม่สามารถมีสิ่งมีชีวิต อาศัยอยู่ได้ เนื่องจากอุณหภูมิเฉลี่ยสูงมากก็ตาม แต่ครั้งหนี่ง นักวิทยาศาสตร์เคยเชื่อว่า ดาวศุกร์ มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่

            ดาวศุกร์ ดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่สอง มีขนาดใกล้เคียงกับโลก จึงชื่อว่าเป็น ”ฝาแฝดโลก” ดาวศุกร์มีวงโคจรอยู่ชั้นในเช่นเดียวกับดาวพุธ จึงทำให้เราสามารถมองเห็นดาวศุกร์ได้เช่นเดียวกับดาวพุธคือ ทางด้านทิศตะวันตกหลังอาทิตย์ลับของฟ้าไปแล้วสูงประมาณ 45 องศา เรียกว่าดาวศุกร์นี้ว่า “ดาวประจำเมือง” และด้านทิศตะวันออกก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น เรียกว่า “ดาวรุ่ง” หรือ “ดาวประกายพรึก” ซึ่งเราสามารถมองเห็น เป็นดาวเด่นอยู่บนท้องฟ้าสวยงามมาก ชาวกรีกโบราณจึงยกให้ดาวศุกร์แทน เทพวีนัส เทพแห่งความงาม เมื่อมองด้วยกล้องโทรทรรศน์จะเห็นลักษณะของดาวศุกร์เว้าแว่งเป็นเสี้ยวคล้าย กับดวงจันทร์เช่นกัน

            ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์มีขนาดเล็กกว่าโลกเล็กน้อย จึงได้ชื่อว่าเป็นดาวฝาแฝดกับโลก เป็นดาวเคราะห์ที่ปรากฏสว่างที่สุด สว่างรองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ถ้าเห็นทางทิศตะวันตกในเวลาค่ำเรียกว่า ดาวประจำเมือง และถ้าเห็นทางทิศตะวันออกในเวลาก่อนรุ่งอรุณ เรียกว่า ดาวประกายพรึก ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกอย่างรุนแรง เพราะมีบรรยากาศหนาทึบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ ดาวศุกร์จึงร้อนมาก อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยสูงกว่าดาวพุธ ดาวศุกร์มีโอกาสเข้ามาใกล้โลกที่สุด ใกล้กว่าดาวพุธ ซึ่งนักดาราศาสตร์ยุคโบราณเข้าใจผิดคิดว่าอยู่ใกล้โลกที่สุด ลักษณะพิเศษของดาวศุกร์คือ หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลานานกว่าการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ และถ้าเราอยู่บนดาวศุกร์เวลา 1 วัน จะไม่ยาวเท่ากับเวลาที่ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเอง 1 รอบ นี่คือลักษณะพิเศษที่ดาวศุกร์ไม่เหมือนดาวเคราะห์ดวงใดๆ นอกจากนี้ดาวศุกร์ยังหมุนตามเข็มนาฬิกาหรือหมุนจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ในขณะที่เคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์จากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ดาวศุกร์จึงหมุนสวนทางกับดาวเคราะห์ดวงอื่น และหมุนสวนทางกับการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองรอบละ 243 วัน แต่ 1 วันของดาวศุกร์ยาวนานเท่ากับ 117 วันของโลก เพราะตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงดวงอาทิตย์ตกยาวนาน 58.5 วันของโลก ดาวศุกร์เคลื่อนรอบดวงอาทิตย์รอบละ 225 วัน 1 ปีของดาวศุกร์จึงยาวนาน 225 วันของโลก

  

 

      สำหรับวันนี้พี่ก้มีเกร็ดความรู้เพียงเท่านี้  คราวหน้าเจอกันใหม่นะค่ะ

http://202.143.132.2/e-learning/el14/sc/sc40_025/3venus.htm

 

Our universe.

0

Posted by siriluk tai | Posted in Uncategorized | Posted on 13-01-2013

 Our universe.

   ในวงการดาราศาสตร์ได้มีทฤษฎีหนึ่งที่จะอธิบายการกำเนิดจักรวาลและ สาเหตุที่ดาราจักรกำลังเคลื่อนที่คือ ทฤษฎีการระเบิดใหญ่ (big-bang theory หรือทฤษฎีบิกแบง) โดย เลแมตร์ (G.Lemaitre) ได้กล่าวไว้ว่า ในอดีตจักรวาลมี ลักษณะเป็นรูปทรงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6,400 กิโลเมตร (4,000 ไมล์) เลอร์แมตร์ เรียกทรงกลมที่เป็นจุดกำเนิดของสสารนี้ว่า “อะตอมดึกดำบรรพ์” (Primeval Atom) เป็นอะตอมขนาดยักษ์ นำหนักประมาณ 2 พันล้านตันต่อลูกบาศก์นิ้ว (ซึ่งขัดแย้งกับความเป็นจริงกับความหมายของอะตอมในปัจจุบันที่ให้ความหมาย ของอะตอม ว่าเป็นส่วยย่อยของโมเลกุล) อย่างไรก็ตามนักดาราศาสตร์ได้ถกเถียงและค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ อย่างจริงจัง และกาโมว์ (G.Gamow) เป็นคนหนึ่งที่สนับสนุนทฤษฎีของเลอเมตร์ จากผลการคำนวณของกาโมว์ ในขณะที่อะตอมดึกดำบรรพ์ระเบิดขึ้น จะมีอุณภูมิสูงถึง 3 x 10^9 เคลวิน (3,000,000,000 เคลวิน) หลังจากเกิดการระเบิดประมาณ 5 วินาที อุณภูมิได้ลดลงเป็น 10^9 เคลวิน (1,000,000,000 เคลวิน) และเมื่อเวลาผ่านไป 3 x 10^8 ปี (300,000,000 ปี) อุณภูมิของจักรวาลลดลงเป็น 200 เคลวิน

    ในที่สุดจักรวาลก็ ตกอยู่ในความมืดและเย็นไปนานมากจนกระทั่งมีดาราจักรเกิดขึ้น จึงเริ่มมีแสงสว่างและอุณภูมิเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปี พ.ศ.2472 ฮับเบิล (Edwin P.Hubble) ได้ศึกษาสเปกตรัมของดาราจักรต่างๆ 20 ดาราจักร ซึ่งอยู่ไกลที่สุดประมาณ 20 ล้านปีแสง พบว่าเส้นสเปกตรัมได้เคลื่อนไปทางแสงสีแดง ดาราจักรที่อยู่ห่างออกไปจะมีการเคลื่อนที่ไปทางแสงสีแดงมาก แสดงว่าดาราจักรต่างๆ กำลังคลื่นที่ห่างไกลออกไปจากโลกทุกทีทุกทีๆ พวกที่อยู่ไกลออกไปมากๆจะมีการเคลื่อนที่เร็วขึ้น ดาราจักรที่ห่างประมาณ2.5พันล้านปีแสง มีความเร็ว 38,000 ไมล์ต่อวินาที ส่วนพวกดาราจักร ที่อยู่ไกลกว่านี้มีควาเร็วมากขึ้นตามลำดับ ความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางของดาราจักรและ ความเร็วแห่งการเคลื่อนที่ เรียกว่า “กฎฮับเบิล” ทฤษฎีนี้อาจเรียกว่า “การระเบิดของจักรวาล” (Exploding Universe) ซึ่งก็สนับสนุนกับแนวคิดของเลแมตร์เช่นกัน

ข้อมูลมาจาก…http://www.oknation.net/blog/print.php?id=782173

การเปลี่ยนแปลงแนววงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์

2

Posted by siriluk tai | Posted in Uncategorized | Posted on 13-01-2013

การเปลี่ยนแปลงแนววงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์

 สำหรับวันนี้เราก็จะมารู้จักกับการเปลี่ยนแปลงแนววงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์กันนะค่ะ  เพราะหลายคนอาจจะสงสัยว่าโลกมีวงโคจรแบบใดและดวงอาทิตย์มีวงโคจรแบบใด  ดังนั้นเราก็จะมารู้จักกันเลยนะค่ะ 

          แม้ว่าความแตกต่างของระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ (โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีจะมีผลต่อความแตกต่างของอุณหภูมิตามฤดูกาลต่าง ๆ น้อยก็ตาม แต่จะมีบทบาทที่สำคัญมาก ต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก ในช่วงระยะเวลานับพันปีระยะทางระหว่างโลก กับดวงอาทิตย์ที่ไกลที่สุด (Aphelion) ประมาณ 94.5 ล้านไมล์ ในวันที่ 4กรกฎาคม ซีกโลกเหนืออยู่ในระหว่างฤดูร้อน กับระยะทางที่ใกล้ที่สุด(Perihelion) ประมาณ 91.5 ล้านไมล์ ในวันที่ มกราคม ซีกโลกเหนืออยู่ในระหว่างฤดูหนาว แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ทำให้โลกได้รับพลังงานรังสีดวงอาทิตย์ในเดือนมกราคม มากกว่าในเดือนกรกฎาคม ประมาณ 6% อย่างไรก็ตาม รูปร่างวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ จะเปลี่ยนแปลงไปในรอบ 90,000-100,000 ปี วงโคจรจะยาวและรีมากขึ้น เมื่อถึงเวลานั้น ประมาณพลังงานรังสีดวงอาทิตย์ที่โลกได้รับขณะที่โลกอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด มากกว่าขณะที่โลกอยู่ไกลดวงอาทิตย์มากที่สุดถึง20 – 30% ซึ่งจะมีผลทำให้ภูมิอากาศแตกต่างจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างแน่นอนที่สุด                            

             เวลาสุริยะคติ (Solar time) เป็นเวลาพื้นฐานตามความรู้สึกของมนุษย์ วันสุริยะคติ (Solar day) เป็นช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงวันครั้งหนึ่งถึงเที่ยงวันครั้งถัดไป ซึ่งเกิดจากการหมุนรอบตัวเองของโลก แต่เนื่องจากโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี และแกนหมุนของโลกเอียงไปจากแนวตั้งฉากของระนาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดังนั้น ในแต่ละวัน เราจึงเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นและตกเปลี่ยนตำแหน่งไปตามเส้นสุริยะวิถี และความยาวนานของแต่ละวันมีค่าไม่เท่ากัน จึงมีการนิยามวันสุริยะคติเฉลี่ย (Mean solar day) ขึ้นมา เป็นวันที่เกิดจากวงอาทิตย์สมมติหรือดวงอาทิตย์เฉลี่ยที่มีทางโคจรที่สม่ำเสมอบนท้องฟ้ามาพิจารณาแทนดวงอาทิตย์จริง 24 ชมวันดาราคติจะมีเพียงแค่23 ชม. 56 . 4 วิของเวลาสุริยะคติ

http://blog.eduzones.com/wanwan/16896

 

ดวงจันทร์ของโลก

1

Posted by siriluk tai | Posted in Uncategorized | Posted on 13-01-2013

ดวงจันทร์ของโลก

             สำหรับวันนี้นะค่ะพี่ก็มีเกร็ดความรู้ที่จะนำมาเสนออีกเช่นเคยนะค่ะ   สำหรับเกร็ดความรู้ในวันนี้พี่เชื่อนะค่ะว่าหลายๆคนอาจจะเคยได้ยินเขาพูดถึงดวงจันทร์กันบ่อยๆหลายคนก็รู้นะค่ะว่าดวงจันทร์หรือพระจันทร์ของเรานี้มีหน้าที่สำคัญอะไร  แต่พี่ว่าถ้าเราอยากจะรู้จักกับดวงจันทร์จริงๆงั้นก็ตามพี่มารู้จักกันได้เลยนะค่ะ

           ดวงจันทร์   เป็นบริวารของโลก เป็นวัตถุทึบแสงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1/4 ของโลก อยู่ห่างโลกประมาณ 30 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของโลกเท่านั้น ดวงจันทร์จึงเป็นวัตถุธรรมชาติที่อยู่ใกล้โลกที่สุด

           เรามองเห็นดวงจันทร์ได้เพราะพื้นผิวดวงจันทร์สะท้อนแสงอาทิตย์มาเข้าตาเรา แต่ส่วนสว่างของดวงจันทร์ที่หันมาทางโลกไม่เท่ากันทุกวัน ทั้งนี้เพราะดวงจันทร์เคลื่อนรอบโลกรอบละประมาณ 1 เดือน ดังนั้นขนาดปรากฏของดวงจันทร์บนฟ้าจึงเปลี่ยนแปลง เช่นเห็นเป็นเสี้ยวเล็ก ๆ วันต่อมาเห็นโตขึ้นและหลายวันต่อมาเป็นจันทร์เพ็ญ ช่วงนี้เราเรียกว่าดวงจันทร์ข้างขึ้น ซึ่งหมายความว่าดวงจันทร์สว่างขึ้น ภายหลังข้างขึ้นจะเป็นข้างแรม ขนาดปรากฏของดวงจันทร์สว่างลดลงจากรูปวงกลมเป็นรูปครึ่งวงกลมและเป็นเสี้ยวเล็ก ๆ จนมองไม่เห็นเรียกว่าวันเดือนดับ เราเรียกปรากฏการณ์ การเกิดข้างขึ้นข้างแรมว่าเป็นดิถีของดวงจันทร์

           ปฏิทินที่อาศัยดวงจันทร์เรียกว่าปฏิทินจันทรคติ ปฏิทินจันทรคติของไทย กำหนดให้ 1 ปีมี 12 เดือน ได้แก่เดือนเลขคี่และเดือนเลขคู่ เดือนคี่คือเดือนขาดมี 29 วัน โดยเริ่มต้นจากวันขึ้น 1 ค่ำถึง แรม 14 ค่ำ เดือนเหล่านี้คือเดือนอ้าย เดือน 3 เดือน 5 เดือน 7 เป็นต้น เดือนคู่คือเดือนเต็มมี 30 วัน ได้แก่เดือนยี่ เดือน 4 เดือน 6 ฯลฯ เดือนเหล่านี้จึงมีวันกลางเดือนเป็นวันขึ้น 15 ค่ำและวันสิ้นเดือนเป็นวันแรม 15 ค่ำ

                 ค่ะเราก็ได้รู้จักกับดวงจันทร์มาเยอะแล้วนะค่ะว่าดวงจันทร์คืออะไร   ปฎิทินเรียกดวงจันทร์ว่าอะไร   แล้ววันนี้เกร็ดความรู้ก็ยังไม่หมดนะค่ะเพราะว่าวันนี้พี่ขนเกร็ดความรู้มาฝากทุกๆคนเพียบเลยนะค่ะ   เอาล่ะค่ะเราไปทำความรู้จักกับปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นกับดวงจันทร์ไม่ว่าจะเป็นข้างขึ้นข้างแรมว่าปรากฎการณ์เหล่านี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับดวงจันทร์อย่างไร    ไปทำความรู้จักกันเลยค่ะ   

             การเกิดข้างขึ้น-ข้างแรม

                การเกิดข้างขึ้น-ข้างแรม หมายถึง การมองเห็นดวงจันทร์มืดหรือสว่างอันเนื่องมาจากดวงจันทร์โคจรรอบโลก โดยส่วนสว่างที่หันมาทางโลก เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของดวงจันทร์บนทางโคจรรอบโลก  เป็นต้น

            

 

          เกร็ดความรู้พี่ก็ขอจบเพียงเท่านี้นะค่ะ    สำหรับวันหน้าติดตามเกร็ดความรู้ตอนต่อไปได้นะค่ะ

http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/worldstar/sc31-4-2.htm

 

 

Free Web Hosting